วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 

วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน 2559

เวลาเรียน  08.30-11.30น.

บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

สถานศึกษาปฐมวัยทำหน้าที่และรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาการและมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็ก

*รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน*
       1.ข่าวสารประจำสัปดาห์
ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
-สาระการเรียนรู้
-พัฒนาการและการเรียนรู้จากกิจกรรม
-กิจกรรมครอบครัว
-เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
-ข้อเสนอแนะ
      2.จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในขั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก
-ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก
-กิจกรรมพัฒนาการเด็ก ข้อมูลผู้ปกครอง
      3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน อยู่หน้าชั้นเรียนของทุกห้อง
-ข้อมูลจากสิ่งต่างๆ
-ภาพถ่ายกิจกรรม
-ผลงาน  เกร็ดความรู้
       4.การสนทนา
เป็นรูปแบบการให้ความรู้ที่เข้าถึงและตรงมากที่สุดเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี

*รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา*
-ห้องสมุดผู้ปกครอง = เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ ความเคลื่อนไหวและความทันสมัย
-ป้ายนิเทศ = ไม่เน้นห้องใดห้องหนึ่ง มีข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ทั่วๆไป
-นิทรรศการ = เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ บันเทิง ความรู้
-มุมผู้ปกครอง = พบปะสร้างสรรค์ ให้ความรู้ไม่นาน มีการแสดงผลงานของลูกเอาไว้
-การประชุม = ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้ผู้ปกครอง
-จุลสาร = สิ่งพิมพ์ มี4ส่วน ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด
-คู่มือผู้ปกครอง = เอกสารให้ความรู้ผู้ปกครอง กฏ ระเบียบ ปรัชญา
-ระบบอินเทอร์เน็ต = การสื่อสารใช้เพื่อการเร่ียนการสอน

*จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทุกคนนั้นสร้างใบข่าวสารประจำสัปดาห์*






*คำถามท้ายบท*
1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียนครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ เช่น แผ่นพับ ใบความรู้ ต่างๆ
         2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เช่น ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก นิทาน  ศิลปะ
         3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน คือ ผลงานของเด็กทุกคนในห้องเรียน
         4.การสนทนา เป็นการให้ความรู้ผู้ปกครองที่ตรงและเข้าถึงที่สุด คือ พูดคุย แลกเปลียนความคิดเห็น

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  1.ห้องสมุดผู้ปกครอง เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่ทันต่อเหตุการณ์
          2.ป้ายนิเทศ ไม่เจาะห้องใดห้องหนึ่ง คือ ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์
          3.นิทรรศการ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และเพื่อความบันเทิง
          4.มุมผู้ปกครอง จะไม่มีในห้องแต่จะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองที่คอยรับ-ส่ง ลูกได้ทำกิจกรรมกันตามความเหมาะสม
          5.การประชุม  เพื่อ แถลงนโยบายการจัดการศึกษา ประสานงานทำความเข้าใจ แลกเปลียนทัศนคติ
          6.จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆด้าน
          7.คู่มือผู้ปกครอง จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้ผู้ปกครองได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
          8.ระบบอินเทอร์เน็ต เว็บโรงเรียน ใช้เพื่อการเรียนการสอน สื่อสาร

3.นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ  อย่างแรกเลยคือจะต้องมีการสนทนาพูดคุยกับผู้ปกครองอย่างเป็นทางการเพื่อบอกให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ทั้งเด็ก การให้ความรู้ และเกี่ยวกับโรงเรียนนั้น อธิบายให้ผู้ปกครองค่อยๆยอมรับและให้ความร่วมมือ

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สำคัญและจำเป็นมาก เพราะว่า เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ บางครั้งผู้ปกครองไม่อาจเข้าใจได้เราก็สามารถให้ความรู้ผู้ปกครองนำกลับไปใช้กับเด็กและสามารถพัฒนาได้ และทำให้ผู้ปกครอง ได้ข้อมูลการดูแลเด็ก ผลการเรียนของเด็ก พฤติกรรมของเด็ก และเมื่อรู้แล้วผู้ปกครองก็จะนำไปพัฒนาได้

5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ การที่ผู้ปกครองนั้นให้ความร่วมมือ คือรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะถ้าผู้ปกครองไม่สนใจก็เท่ากับว่าสิ่งที่ครูเตรียมมาก็ศูนย์เปล่า ไร้ประโยชน์ เราะฉะนั้น การให้ความร่วมมือของผู้ปกครองคือสิ่งที่ดีที่สุด


ประเมินตนเอง

ในสัปดาห์นี้ดิฉันไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเท่าไรเวลาอาจารย์ให้ทำใบข่าวสารประจำสัปดาห์นั้นก็คิดไม่ค่อยออกว่าจะทำอย่างไหนดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆก็มีตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจบ้างแต่โดยรวมๆแล้วทุกคนก็เรียนได้ดีในวันนี้

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์สอนเนื้อหาและก็อธิบายการทำงานในคาบได้ดีคะและยังเดินค่อยอธิบายให้คนที่ไม่เข้าใจได้รับรู้อีกด้วยคะ




วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 

วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559

เวลาเรียน  08.30-11.30น.


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระสำคัญ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5 

วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559

เวลาเรียน  08.30-11.30น.

บทที่4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

  1. โครงการแม่สอนลูก
  2. โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
  3. โครงการหนังสือเล่มแรก
  4. โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
  5. โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว "บ้านล้อมรัก"
  6. โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

1.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)
2.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
3.โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
   -โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
4.
โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

   -โครงการ เฮดสตาร์ท

   -โครงการสมาร์ท สตาร์ท

   -โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่

   -โครงการ โฮมสตาร์ท

   -โครงการ Brooklyne Early Childhood

5.
โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
   -โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
6.โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศออสเตรเลีย
   -โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
   -โครงการ"พ่อแม่คือครูคนแรก"

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
 เป็นโครงการแรกของโลก ที่เรียกว่า"หนังสือเล่มแรก" ก่อตั้งในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2535 โดยนางเวนดี้ คูลลิ่ง เป็นหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนมีถุงบุ๊คสตาร์ท

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น(Bookstart Japan)
 พ.ศ.2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่านของเด็ก ภาษามีความสำคัญต่อการล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่าอ่อนโยน 


-หลังจากนั้นอาจารย์ได้เปิดวิดีโอ เรื่อง หนังสือเล่มแรก Book start

โดยเป็นการพูดคุยของคุณตุ๊บป่อง เรืองศักดิ์  ปิ่นประทีป โดยได้ให้คุณตุ๊ปปองมาพูดคุยเกี่ยวกับบุ๊คสตาร์ท โดยแต่ละประเทศจะมีถุงหนังสือให้พ่อแม่ สำหรับประเทศไทยเคยมีโครการนี้แต่ปัจจับันอาจจะให้พ่อแม่โทรมาขอถุงกับโครงการได้








*คำถามท้ายบท*
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เป้าหมายร่วมกันคือฝึกให้เด็กโตขึ้นเป็นเด็กรักการอ่าน ฝึกทักษะด้านต่างๆ พัฒนาการของลูกการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดีและการรักษาในด้านต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ ต้องปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่างๆให้รับรู้และร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับรู้ข่าวสารและทำตามอาจจะต้องให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันทำถึงจะสำเร็จได้

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กมา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1. กิจกรรมปั้นเด็กฉลาด การมีลูกไม่ใช่ให้เติบโตแค่ทางกาย สุขภาพใจ พัฒนาการสติปัญญาและการอยู่ได้อย่างมีความสุขในสังคมเป็นเรื่องสำคัญมาก
   ตัวอย่างประกอบ
1. สมองสองภาษา  2.หนูน้อยนักฟังเพลง  3.เล่นกับบล็อก  4.สร้างนิสัยรักการอ่าน  5.เล่นนับตัวเลข เป็นต้น

          2. ฝึกทักษะคิดให้ลูกไวได้ลูกฉลาดหลักแหลม  พ่อแม่หลายคนลืมให้ความสำคัญกับมันคิดแทนลูก ตัดสินใจแทนจนทำให้ลูกมีโอกาสฝึกฝนการคิดต่ำ 
ตัวอย่างประกอบ
1. เก็บเกี่ยวความรู้ได้ดี     2. เข้าใจข้อมูลที่ได้รับ    3.นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ 
4.วิเคราะห์ข้อมูลเป็น   5. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่    6. ประเมินข้อมูลเป็น

          3.สอนลูกยับยั้งใจให้เป็น 3-5 ขวบ  เคยไหมอยู่ดีๆลูกที่น่ารักของคุณร้องโวยวาย เมื่อไม่ได้ดังใจ แต่เรามีวิธีดังนี้
ตัวอย่างประกอบ
 1.ใช้ทฤษฏี time out   เช่น 3 ขวบ 3 นาที พอ 5 ขวบ 5 นาที เพื่อให้ลูกสงบสติอารมณ์เพียงคนเดียว เมื่อลูกใจเย็นลงแล้วให้พาเขาออกมาจากบริเวณทำโทษได้เลยเพื่อให้เขารู้สึกว่า เขาควบคุมตัวเองได้และนี่คือรางวัลที่เขาได้จากการควบตุมตัวเอง
2. time in อยู่กับเขาในช่วงเวลาการเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองให้ได้เพื่อไม่ให้เขาโดดเดี่ยว พอเย็นลงชมเขาที่ควบคุมตัวเองได้และกอดเขาบอกว่าเป็นเด็กน่ารักและบอกรักเขาเสมอ

         4.เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้กล้ารับผิด ความซื่อสัตย์คือสิ่งที่พ่อแม่ควรสอนให้ลูกน้อยตั้งแต่เด็ก
ตัวอย่างประกอบ
1.ปากเบาเข้าไว้ "ไม่เป็นไรให้เป็น"
2.ฟังลูกก่อน จะเอ่ยปากบ่นว่า
3.ชื่นชมต่อหน้าที่กล้ารับผิดชอบ
4.ยกตัวอย่างเป็นตัวอย่างที่ดี

        5.ฝึกให้ลูกเอาตัวรอดได้ คือทักษะชีวิต
ตัวอย่างประกอบ
ให้ลูกรู้จักเขียนชื่อตัวเอง จำเบอร์โทรพ่อ แม่และที่อยู่ได้ ช่วยเหลือตัวเองได้โดยพ่อแม่ช่วยเหลือให้น้อยที่สุด  รู้จักเบอร์โทรฉุกเฉิน 191

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ส่งผล เพราะว่า เราให้ความรู้ผู้ปกครองในรูปแบบที่ถูกต้อง แล้วผู้ปกครอง นำไปดูแลเด็กหรือพัฒนาเด็กได้ ก็จะส่งผลทำให้พฤติกรรมของเด็กดี พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สุขภาพ ก็ดีขึ้น เราควรให้ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ปกครองนำไปใช้ในทางที่ถูก

5.นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  เมื่อเราให้ความรู้ผู้ปกครองแล้ว การติดตามผลก็สำคัญ 
      1.ติดต่อผู้ปกครองอีกครั้งเพื่อดูผล



ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนและดูวิดิโอมากๆเลยคะถึงแม้ช่วงอาจารย์ฉายวิดิโอจะไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไรแต่ก็พอจับใจความได้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและดูวิดิโอเมื่ออาจารย์ถามก็สามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์วันนี้สอนเนื้อหาเยอะมากและยังมีวิดิโอให้เกี่ยวกับหนังสือเล่มแรกมาเปิดให้นักศึกษาทุกคนดูแต่อาจารย์ก็ยังใจเหมือนเดิม




วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4 

วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

เวลาเรียน  08.30-11.30น.

ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 3
การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
*ความหมายของการสื่อสาร*
การสื่อสาร = การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล = ข่าวสารประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจตรงกัน

*ความสำคัญของการสื่อสาร* 
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณืที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 2 ฝ่าย
3.สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.เกิดภาพแห่งความประทับใจ
5.พัฒนาอัดมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

*รูปแบบของการสื่อสาร*
-อริสโตเติล (Aristotle's Model of communication)
-ลาล์สเวล (Lesswell's Model of communication)
-แชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver's Model of communication)
-ออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm's)
-เบอร์โล (Berlo's Model of communication) *เกี่ยวข้องกับปฐมวัย

*องค์ประกอบของการสื่อสาร*
1.ผู้ส่งข่าวสาร
2.ข้อมูลข่าวสาร
3.สื่อในช่องทางการสื่อสาร
4.ผู้รับข่าวสาร
5.ความเข้าใจและการตอบสนอง

*ผู้ส่งสารและผู้รับสาร*
*สื่อ*
*สาร*

*วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร*
1.เพื่อแจ้งให้ทราบ
2.เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
3.เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4.เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ

*ประเภทของการสื่อสาร*
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2.จำแนกตามภาษาสัญลักณ์ที่แสดงออก
3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
 -การสื่อสารกับตนเอง
 -การสื่อสารระหว่างบุคคล
 -การสื่อสารสาธารณะ
 -การสื่อสารมวลชน
 -การสื่อสารในครอบครัว
 -การสื่อสารในโรงเรียน
 -การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป

*ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง*
ออเออร์บาค
-ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้
-ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-การมีอิสระในการเรียนรู้
-เรียนรู้ได้ดีในเรื่องการพัฒนาเด็ก
  เป็นต้น

*พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง*
1.ความพร้อม
2.ความต้องการ
3.อารมณ์และการปรับตัว
4.การจูงใจ
5.การเสริมแรง
6.ทัศนคติและความสนใจ
7.ความถนัด

*อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร*
*7c กับการสื่อสาารที่ดี*
-Credibility ความน่าเชื่อถือ
-Content เนื้อหาสาระ
-Clearly ความชัดเจน
-Context ความเหมาะสมกับโอกาส
-Channel ช่องทางการสื่อสาร
-Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน
-Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร

*คุณธรรมในการสื่อสาร*
ความดีงามในตัวบุคคลที่เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก

*วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง*
ศึกษาให้เข้าใจผู้ปกครอง เรียนรู้ความต้องการรของเขา พูดคุยเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครองมีท่าทางเป็นมิตรและเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

จากนั้นก็จะเป็นการเล่นเกมต่างๆที่เป็นเกมเกี่ยวกับการสื่อสารในรูแบบต่างๆ












*คำถามท้ายบท*
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ ความหมาย คือ การสื่อสาร = การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล = ข่าวสารประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจตรงกัน
         ความสำคัญ คือ ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 2 ฝ่าย สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ ผู้ปกครองสามารถที่จะสื่อสารกับครูและลูกของตนได้อย่างเหมาะสม สื่อสารก็เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งของผู้ปกครองที่ทำให้สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครองควรเป็นรูปแบบใด จงยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล เพราะเป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับปฐมวัย 
  ตัวอย่าง คือ เด็ก บอก หิวข้าวกับแม่ 

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ได้ดีสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันสนใจในสิ่งที่ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ และยังสามารถทำให้ผู้ปกครองรู้เรื่องพัฒนาการของลูกๆได้

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ  1.ความพร้อม
2.ความต้องการ
3.อารมณ์และการปรับตัว
4.การจูงใจ
5.การเสริมแรง
6.ทัศนคติและความสนใจ
7.ความถนัด

ประเมินตนเอง
ในสัปดาห์นี้ดิฉัน ก็ตั้งใจเรียนและช่วยอาจารย์ทำกิจกรรมคะ เล่นเกมวันนี้สนุกมากถึงแม้จะมีเนื้อหาที่เยอะแต่ก็ยังมีการเล่นเกมเพื่อคลายเครียดคะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันพาทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างสนุกสนานถึงแม้ว่าจะเสียงดังจนอาจารย์ห้องอื่นมาเตือนแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและเล่นเกมมากๆ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ใจดีให้เล่นเกมนานมากในวันนี้สนุกเป็นอย่างมากและวันนี้อาจารย์ก็ปล่อยเร็วอีกด้วยคะ